ข้อมูลเกี่ยวกับแผนกวิชาคอมพิวเตอรืธุรกิจ

คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

            หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเเทศและการประยุกต์เทคโนโลยีกับงานธุรกิจและการจัดการ โดยเน้นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านงานธุรกิจ เช่น Bl (Business lntelligence) ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ และ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) สำหรับการวางแผนการบริหารธุรกิจขององค์กร ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจ โดยตลอดหลักสูตรการเรียนจะเน้นการฝึกทักษะสู่ภาคปฎิบัติจริงกับอุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมในห้องปฎิบัติการที่ทันสมัย

การเรียนการสอน

  • ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพคอมพิวเตอร์ธุรกิจตามหลักการและกระบวนการ
  • เลือกใช้และบํารุงรักษาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการโดยคํานึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
  • ตัดสินใจ วางแผนและแก้ไขปัญหา ในงานอาชีพคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในบางเรื่อง
  • ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงาน คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • ใช้โปรแกรมสําเร็จรูปในงานธุรกิจ
  • ใช้และดูแลระบบคอมพิวเตอร์
  • ติดตั้งและใช้งานระบบเครือข่ายเบื้องต้น
  • ออกแบบและเขียนโปรแกรมพื้นฐาน
  • สร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป
  • ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

จุดเด่น

            เน้นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านงานธุรกิจ เช่น Bl (Business lntelligence) ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ และ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) สำหรับการวางแผนการบริหารธุรกิจขององค์กร ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจ โดยตลอดหลักสูตรการเรียนจะเน้นการฝึกทักษะสู่ภาคปฎิบัติจริงกับอุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมในห้องปฎิบัติการที่ทันสมัย

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ 

            เราได้นำเอาลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมและที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เช่น พิมพ์รายงาน จดหมาย เอกสารต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น

            1. งานธุรกิจ บริษัท ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า รวมไปถึงโรงงานต่าง ๆ ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และใช้ติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ในงานอุตสาหกรรม จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการผลิต เช่น การใช้หุ่นยนต์หรือ คอมพิวเตอร์มาควบคุมการผลิต สำหรับงานด้านบันเทิง เราได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการสร้างภาพยนต์ เพลง หนังสือ สิ่งพิมพ์ โฆษณา ผลิตสื่อต่าง ๆ เป็นต้น

            2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข เราสามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน งานศึกษาโมเลกุลเคมี หรืองานทะเบียน สถิติ และนอกจากนี้เรายังนำคอมพิวเตอร์ไปเป็นอุปกรณ์ในการตรวจรักษาโรค ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำและยังทำให้การรักษาเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

            3. งานคมนาคมและสื่อสาร  เรานำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมระบบการจราจร เช่น สัญญาณไฟจราจร และการจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็จะใช้ในระบบการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียม เพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยให้การส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน

            4. งานราชการ  การใช้งานในหน่วยงานราชการนั้นมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ สำหรับสรรพกร จะนำไปใช้ในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้ในการจัดระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่าง เป็นต้น

            5. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม  สถาปนิกและวิศวกรจะใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน

            6. การศึกษา เราจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอน หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด เป็นต้น          

แนวทางการประกอบอาชีพ

เจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ โปรแกรมเมอร์ เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่ควบคุม การวิเคราะห์ข้อมูล อีคอมเมริซ์ เจ้าหน้าที่วางระบบคอมพิวเตอร์ เว็บมาสเตอร์ และอื่น ๆ

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 6,000 – 8,000 บาท
  • ภาคเอกชน 7,000 – 9,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้